มะเร็งท่อน้ำดี


โรคมะเร็งท่อน้ำดี
หรือชื่อทางการแพทย์คือ Cholangiocarcinoma (คอ-แลง-จิโอ-คาร์-ซิ-โน-มา) เป็นมะเร็งที่อยู่บริเวณเยื่อบุผนังของท่อทางเดินน้ำดีในภาคอีสานมีสาเหตุหลักคือเกิดจากการติดพยาธิใบไม้ตับชนิด Opisthorchis viverrini (โอ-พิส-ตอ-คิส-วิ-เวอ-ริ-นี่) ซึ่งเป็นตัวปรสิตที่พบในปลาน้ำจืดชนิดมีเกล็ด เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาว ปลาสร้อย ปลากะสูบ ปลาแม่สะแด้ง ปลาซิว ปลาแก้มช้ำ ปลาขาวนา เป็นต้น ปลาเหล่านี้ หาได้ทั่วไปตามแหล่งน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อคนรับประทานปลาน้ำจืดเหล่านี้แบบสุกๆ ดิบๆ เช่น ทำเป็น ก้อยปลาดิบ ลาบปลาดิบ ปลาส้ม ปลาร้าที่หมักไม่เกิน ๑ สัปดาห์โดยตัวอ่อนของพยาธิสามารถไชเข้าไปเจริญเติบโตอยู่ในท่อน้ำดีและมีชีวิตอยู่ได้นานถึง ๒๐ ปี และจะทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในท่อน้ำดีและเกิดเป็นมะเร็งท่อน้ำดีในที่สุดอย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการติดเชื้อ เราจะยังไม่ได้เป็นมะเร็งในทันที แต่กระบวนการก่อมะเร็งที่บริเวณท่อน้ำดีในตับจะใช้เวลาอย่างน้อย ๒๐-๓๐ ปีจึงจะตรวจพบก้อนเนื้อร้ายดังนั้นชาวบ้านจึงมักไม่ตะหนักที่จะเลิกนิสัยการบริโภคปลาดิบ และซ้ำร้ายยังใช้วิธีกินยาถ่ายพยาธิเอา ทำให้มีพฤติกรรมแบบติดพยาธิซ้ำซาก ส่งผลให้เกิดภาวะอักเสบแบบเรื้อรัง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี

            ขอเชิญ.....ตรวจ-คัดกรอง มะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ ได้ทุกวันเวลาราชการ "มะเร็งท่อน้ำดี ตรวจก่อน เจอก่อน หายก่อน " ณ โรงพยาบาลเขวาสินรินทร์

กลุ่มเสี่ยง
     ๑.ผู้ที่มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป
     ๒.ผู้ที่เคยบริโภคเนื้อปลาเกล็ดขาว ในวงศ์ปลาตะเพียน แบบสุกๆ ดิบๆ ปลาร้าดิบ ปลาจ่อม ปลาส้ม
     ๓.ดื่มสุราประจำ
     ๔.มีญาติเป็นโรคมะเร็งตับ หรือมะเร็งท่อนำ้ดี
     ๕.ผู้ที่มีอาการตาตัวเหลือง

  

 

แพทย์หญิงใจทิพย์ เชื่อมไธสง

ผู้อำนวยการ
โรงพยาบาลเขวาสินรินทร์